Archive | พฤษภาคม 2013

บทชุมนุมเทวดา

สะรัชชัง  สะเสนัง  สะพันธุง   นะรินทัง  ปะริตตานุภาโว  สะทา   รักขะตูติ,  ผะริตตะวานะเมตตัง

สะเมตตา  ภะทันตา  อะวิกขิตตะจิตตา  ปะริตตัง  ภะณันตุ,

 ท่านผู้เจริญทั้งหลาย  ผู้มีเมตตา จงแผ่ไมตรีจิต ด้วยคิดว่า ขออานุภาพพระปะริตต์  จงรักษาพระราชา  ผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน  พร้อมด้วยราชสมบัติ  พร้อมด้วยพระราชวงศ์  พร้อมด้วยเสนามาตย์  แล้วอย่ามีจิตฟุ้งซ่าน  ตั้งใจสวดพระปะริตต์

สะมันตา  จักกะวาเฬสุ  อัตตะราคัจจฉันตุ  เทวะตา,

เทพยดาในรอบจักรวาลทั้งหลาย  จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้,

สัทธัมมัง  มุนิราชัสสะ  สุณันตุ  สัคคะโมกขะทัง,

จงฟังซึ่งพระสัทธรรม  อันให้สวรรค์แล  นิพพานเป็นที่สุด ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าแห่งมุนี

สัคเค  กาเมจะรูเป  คิริสิขะระตะเฏ  จันตะลิกเข  วิมาเน

ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี  รูปภพก็ดี  และภุมเทวาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน  เหนือยอดเขา  แลหุบผาก็ดี  เขาขาดก็ดี  ในอากาศก็ดี,

ทีเป  รัฎเฐ จะ  คาเม  ตะรุวะนะ  คะหะเน  เคหะวัตถุมหิ  เขตเต,

ในเกาะก็ดี  ในแว่นแคว้นก็ดี  ในบ้านก็ดี  ในต้นพฤกษาแลป่าชัฎก็ดี  ในเรือนก็ดี  ในที่ไร่นาก็ดี

ภุมมา  จะ  ยันตุ  เทวา  ชะละถะละ  วิสะเม  ยักขะคันธัพพะ  นาคา,

ยักษ์  คนธรรพ์  แลนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำแล  บนบก  แลในที่อันไม่เรียบก็ดี

ติฏฐันตา  สันติเกยัง  มุนิวะระ  วะจะนัง  สาธะโว  เม  สุณันตุ,

ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง  จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้  คำใดเป็นคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ  ท่านสัตบุรุษทั้งหลาย  จงสดับคำนั้นแห่งข้าพเจ้า,

ธัมมัสสะวะนะกาโล  อะยัมภะทันตา,   ธัมมัสสะวะนะกาโล  อะยัมภะทันตา,   ธัมมัสสะวะนะกาโล  อะยัมภะทันตา.

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย  กาลนี้เป็นกาลควรฟังธรรม  ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย  กาลนี้เป็นกาลควรฟังธรรม  ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย  กาลนี้เป็นกาลควรฟังธรรม.

 

คัดลอกจาก…..หนังสือธรรมานุสรณ์
ทำวัตร สวดมนต์ ธรรมภาวนา
วัดถ้ำแฝด ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

แผ่เมตตา

สัพเพ  สัตตา,  สัตว์ทั้งหลาย, ที่เป็นเพื่อนทุกข์, เกิดแก่เจ็บตาย, ด้วยกันหมดทั้งสิ้น,

อะเวรา,  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย,

อัพะยาปัชฌา,  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

อะนีฆา,  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด,  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย,

สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ,  จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ.

 

อุทิศส่วนกุศล

อิทัง  เม,  มาตาปิตูนัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  มาตาปิตะโร,

— ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า,  จงมีความสุข,

อิทังเม,  ญาตีนังโหตุ,  สุขิตาโหนตุ,  ญาตะโย,

— ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ, แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า,  ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า,  จงมีความสุข,

อิทัง  เม,  คุรูปัชฌายาจริยานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  คุรูปัชฌายาจริยา,

— ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า, ขอให้ครูอุปัชฌาอาจารย์ของข้าพเจ้า,  จงมีความสุข,

อิทัง,   สัพพะเทวานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  สัพเพ  เทวา

— ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข,

อิทัง,  สัพพะเปตานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  สัพเพ  เปตา,

— ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข,

อิทัง,  สัพพะเวรีนัง  โหตุ,  สุขิตาโหนตุ,  สพเพ  เวรี,

— ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข.

อิทัง,  สัพพะสัตตานัง  โหตุ,  สุขิตา  โหนตุ,  สัพเพ  สัตตา,

ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ,  แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  จงมีความสุข.

ถวายข้าวพระพุทธ

อิทัง  สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง  สาลีนัง  โภชะนัง  อุทะกังวะรัง  พุทธัสสะ  ปูเชมิฯ

ข้าพเจ้าขอบูชา  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยโภชนาอาหารและน้ำนี้

ลาข้าวพระพุทธ

เสสัง มังคะลัง  ยาจามิฯ

— ข้าพเจ้าได้บูชาแล้ว  ขออนุญาตรับประทานสิ่งที่เหลืออันเป็นมงคลนี้ฯ

 

คัดลอกจาก…หนังสือแสงแห่งธรรม
บทสวดมนต์ คาถามงคลและการฝึกจิต
จิตศรัทธา พุทธานุภาพ

คำบูชาพระรัตนตรัย (๑)

อิมินา  สักกาเรนะ,   พุทธัง  อะภิปูชะยามิ,   ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้

อิมินา   สักกาเรนะ,  ธัมมัง   อะภิปูชะยามิ,   ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระธรรมเจ้า  ด้วยสักการะนี้

อิมินา   สักกาเรนะ,   สังฆัง  อะภิปูชะยามิ,   ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาพระสงฆ์  ด้วยเครื่องสักการะนี้

—ขอขมาพระรัตนตรัย 

วันทามิ  พุทธัง, สัพพะ  เมโทสัง,  ขะมะถะเมภันเต.

วันทามิ  ธัมมัง,  สัพพะ  เมโทสัง,  ขะมะถะเมภันเต.

วันทามิ  สังฆัง,  สัพพะ  เมโทสัง,  ขะมะถะเมภันเต.

—บทกราบพระรัตนตรัย  ว่าพร้อมกันดังนี้ (สวดเป็นหลายคน)

อะระหังสัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา 

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

 พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ  (กราบ)

ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

สะวากขาโต  ภะคะวาตา  ธัมโม 

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผูมีพระภาคเจ้า  ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง  นะมัสสามิ  (กราบ)

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม

สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวกะสังโฆ  

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆังนะมามิฯ  (กราบ)

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์

—กล่าวคำอาราธนาศีล ๕

มะยังภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะสีลานิยาจามะ

ทุติยัมปิ  มะยังภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะสีลานิยาจามะ

ตะติยัมปิ  มะยังภันเต  วิสุง  วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ  ปัญจะสีลานิยาจามะ

—บทนมัสการพระรัตนตรัย

นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

—ไตรสรณคมน์

พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ

สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ทุติยัมปิ   พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ทุติยัมปิ   ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ทุติยัมปิ   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ตะติยัมปิ   พุทธัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ตะติยัมปิ   ธัมมัง   สะระณัง   คัจฉามิ

ตะติยัมปิ   สังฆัง   สะระณัง   คัจฉามิฯ

—คำสมาทานศีล

๑.  ปาณาติปาตา,  เวระมะณี   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

๒.  อะทินนาทานา,   เวระมะณี   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,

  ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ  เว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ให้

๓.  กาเมสุ   มิจฉาจารา,   เวระมะณี   สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย (สำหรับศีล ๕)

๔.  มุสาวาทา,  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ,

   ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดปดทั้งหลาย

๕.  สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา,   เวระมะณี   สิขาปะทัง  สะมาทิยามิ,

ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือ  เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

(แปล)  ข้าพเจ้าขอถือเอา พระพุทธเจ้า เป็นสะระณะ

ข้าพเจ้าขอถือเอา พระธรรมเจ้า เป็นสะระณะ

ข้าพเจ้าขอถือเอา พระสังฆเจ้า เป็นสะระณะ

……………………………

คัดลอกจาก…หนังสือแสงแห่งธรรม
บทสวดมนต์ คาถามงคลและการฝึกจิต
จิตศรัทธา พุทธานุภาพ

การสวดมนต์เป็นการสร้างบารมี

pบางท่านอาจจะสงสัยว่า  การสวดมนต์เพียงแค่ไม่กี่นาทีจะเป็นบารมีได้อย่างไร  ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า “บารมี”  แปลว่า ความดีที่ควรบำเพ็ญ  ….บารมีเป็นสภาพธรรมที่จะเกื้อกูลในการที่จะขัดเกลากิเลส  และในการที่จะเพิ่มกำลังทำให้สติและปัญญาสามารถที่จะละคลาย  และดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท

บารมี  ๑๐ ประการ ได้แก่

๑.  ทานบารมี  หมายถึงการสละหรือการให้ทานตามกาลที่ควรสละ  ขณะที่กำลังสวดมนต์จิตเป็นกุศล ก็เป็นการสละจากอกุศลขณะนั้น  สละจากความยินดีพอใจ ติดข้องต้องการ  สละความโกรธ  สละความไม่สบายใจ  ขณะนั้นเป็นทานบารมี

๒.  ศีลบารมี  ขณะสวดมนต์จิตเป็นกุศล  วิรัติทุจริตทางกายและวาจา  ไม่ได้กระทำอกุศลกรรมกับใคร  ขณะนั้นมีศีลบริสุทธิ์  เป็นศีลบารมี

๓.  เนกขัมมะบารมี  ขณะที่สวดมนต์จิตไม่คิดไปในกาม  ไม่คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น ไม่คิดไปในทางผูกโกรธหรือคิดพยาบาทผู้อื่น ขณะนั้นจิตเป็นกุศล  จึงเป็นเนกขัมมะบารมี

๔.  ปัญญาบารมี  ขณะที่สวดมนต์  ถ้าสติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏขณะนั้นตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา  เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ขณะนั้นเป็น ปัญญาบารมี

๕.  วิริยะบารมี  คือ ความเพียร  ความอุตสาหะ  ขณะสวดมนต์จิตประกอบด้วยความเพียรที่เป็นไปในกุศล  ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้  ไม่ใช่เราเพียร แต่เป็นวิริยะเจตสิกที่เกิดขึ้นทำกิจของวิริยะ  ขณะนั้นเป็นวิริยบารมี

๖.  ขันติบารมี  คือ ความอดทน  อดทนที่จะกระทำความดี  ขณะสวดมนต์จิตประกอบด้วยความอดทนที่จะบำเพ็ญกุศล  มีความอดทนที่จะกระทำความดีให้สำเร็จ  มีความอดทนต่อนิวรณธรรม (นิวรณ์ ๕) ขณะนั้นเป็นขันติบารมี

๗. สัจจะบารมี คือ เป็นผู้ที่จริงใจและตรงต่อสภาพธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล  พูดจริงทำจริง  ขณะสวดมนต์มีความจริงใจที่จะบำเพ็ญกุศล  ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกรู้ว่าขณะนั้นเป็นสภาพกุศลธรรม  ขณะนั้นเป็นสัจจะบารมี

๘.  อธิษฐานบารมี  หลังจากที่สวดมนต์เสร็จแล้ว  ก็มีการอธิษฐานจิต  ถ้าปรารถนาไปในทางกุศลที่จะทำให้สามารถอบรมปัญญา ให้ถึงความคมกล้าที่สามารถจะประหารกิเลสเป็นสมุจเฉทได้   การอธิษฐานนั้นก็จะเป็นอธิษฐานบารมี

๙.  เมตตาบารมี  เมตตา คือ ความเป็นมิตรไมตรีกับทุกคน  มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อผู้อื่นที่มีความทุกข์  ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข  หลังจากที่สวดมนต์เสร็จแล้ว  ก็มีการอุทิศส่วนกุศลและแผ่เมตตาให้แก่ผู้อื่นให้มีส่วนในกุศลที่เราได้บำเพ็ญแล้ว  ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกสภาพธรรมขณะนั้นว่า  เมตตาเป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ไม่ใช่เราที่เมตตา  ขณะนั้นเป็นเมตตาบารมี

๑๐.  อุเบกขาบารมี  ขณะสวดมนต์จิตมีความสงบจากอกุศล  วางเฉยต่ออารมณ์ที่น่ายินดีพอใจหรืออารมณ์ที่ไม่น่ายินดีพอใจที่กำลังปรากฏในขณะนั้น  เป็นอุเบกขาบารมี

เห็นมั้ยคะ….แค่สวดมนต์เพียงไม่กี่นาที  เราก็สามารถสร้างบารมีได้ครบทุกประการ  ซึ่งการบำเพ็ญบารมีเช่นนี้สามารถเกื้อกูลแก่ท่านที่ไม่ค่อยมีเวลาจะเข้าวัดหรืออยู่ห่างไกลวัด  ก็สามารถปฏิบัติอยู่ที่บ้านได้ทุกวัน  นี่ก็เป็นการสร้างบารมีในชีวิตประจำวัน.

                …………………………………….

 

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านและขออุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์

การไหว้พระสวดมนต์เป็นการสะสมกุศล

ชีวิตคนเราในแต่ละวันส่วนใหญ่จะเป็นไปในอกุศล เพราะเหตุว่าสติไม่เกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฎขณะนี้ตามความเป็นจริง ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เมื่อสติไม่เกิดขึ้นระลึกขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น จิตก็จะเกิดความยินดีพอใจในอารมณ์ที่ปรากฏในขณะนั้น ถ้าเป็นอารมณ์ที่น่ายินดีพอใจ ก็อยากจะได้(โลภ) ถ้าเป้นอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็เกิดขุ่นเคืองใจ ไม่แช่มชื่น (โทสะ)….

ทำอย่างไรจึงจะเกิดสติ?
อยู่ดี ๆ สติเกิดเองไม่ได้ เพราะเหตุว่าสติเป็นอนัตตาไม่มีตัวตนที่จะบังคับให้เกิดได้ตามต้องการ ต้องอบรมเจริญอยู่เนื่องๆ สติเป็นเจตสิกธรรม ขณะใดจิตคิดนึกไปในเรื่องการให้ทาน ในเรื่องศีลในเรื่อง
ควาสงบของจิตและเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ขณะนั้นเป็นกุศลจิต แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว ทุกท่านก็คงจะไม่ค่อยได้นึกคิดถึงเรื่อง ทาน ศีล สมาธิ ในชีวิตประจำวันอยู่บ่อย ๆ เพื่อสะสมกุศลจิต เพราะว่ามัวยุ่งอยู่กับเรื่องทางโลก

แต่ก็ยังมีวิธีสร้างกุศลจิต ที่สามารถกระทำได้โดยไม่ยากนัก ซึ่งสามารถกระทำได้อย่างสม่ำเสมอด้วย และคิดว่าบางท่านก็คงกระทำอยู่แล้ว การไหว้พระสวดมนต์ไงคะ… การสวดมนต์เป็นกุศลจิต เพราะว่าขณะที่สวด จิตสงบจากอกุศลทั้งปวง ขณะนั้นมีศีลบริสุทธิ์ สติเกิดขึ้นระลึกรู้ทุกขณะที่จิตไหลไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฎทางทวารทั้ง๖ การสวดมนต์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้จิตสงบตั้งมั่น เพราะเหตุว่าจิตเพ่งอยู่ในอารมณ์เดียว
ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฎทางทวารต่าง ๆ ตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะเหตุว่ามีปัจจัยแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา นี่ก็เป็นสัมมาสมาธิเป็นฝ่ายกุศลจิต

สำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีโอกาสบำเพ็ญกุศลกรรมใหญ่ ๆ ที่ต้องใช้ปัจจัยด้วย ก็สะสมบุญด้วยการไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำอยู่ที่บ้านก็ได้ บุญกุศลที่ทำนี้ไม่หายไปไหนค่ะ เมื่อกุศลมีกำลังมาก ก็อาจจะส่งผลให้ท่านพบกับชีวิตใหม่ที่มีธรรมอันประเสริฐเป็นที่พึง และยังส่งผลถึงชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไปได้อีกด้วย ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย.

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านและขออุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์